วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7
Google และ Google Scholar สามารถเพิ่มการมองเห็นและการเข้าถึงเนื้อหาของคุณได้ทั่วโลก เราทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์สำหรับข้อมูลวิชาการ เพื่อจัดทำดัชนีบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ ร่างบทความ บทคัดย่อ และรายงานทางเทคนิคจากการค้นคว้าวิจัยทุกสาขา และทำให้สามารถค้นหาได้บน Google และGoogle Scholar หน้านี้มีนโยบายและข้อมูลทางเทคนิคสำหรับสำนักพิมพ์และแวดวงวิชาการ
นโยบายของสำนักพิมพ์
มีการจัดกลุ่มเวอร์ชันต่างๆ ของผลงานหนึ่งชิ้นเพื่อทำให้อยู่ในอันดับที่สูงขึ้น ในการค้นคว้าวิจัยหลายสาขา เวอร์ชันต่างๆ ของผลงานหนึ่งชิ้นอาจปรากฏเป็นร่างบทความและบทความจากการประชุมก่อนที่จะได้รับการตีพิมพ์เป็นบทความจากวารสาร เวอร์ชันเบื้องต้นของผลงานเหล่านี้มักมีการอ้างอิงถึงนอกเหนือจากเวอร์ชันวารสารที่เชื่อถือได้ จำนวนการอ้างอิงถึงผลงานหนึ่งๆ เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดอันดับในผลการค้นหาของ Google Scholar เวอร์ชันที่มีการจัดกลุ่มทำให้เราสามารถเก็บรวบรวมการอ้างอิงทั้งหมดถึงผลงานทุกเวอร์ชัน ในทางปฏิบัติ สิ่งนี้สามารถปรับปรุงตำแหน่งของบทความในผลการค้นหาได้อย่างมาก
หากมีการจัดทำดัชนี ฉบับเต็มของสำนักพิมพ์ถือเป็นเวอร์ชันหลัก เมื่อมีการจัดทำดัชนีผลงานในเวอร์ชันต่างๆ เราจะเลือกฉบับเต็มที่เชื่อถือได้ จากสำนักพิมพ์เป็นเวอร์ชันหลัก เราจะทำสิ่งนี้ได้ต่อเมื่อเราสามารถระบุ รวบรวมข้อมูล และ ประมวลผลเวอร์ชันฉบับเต็มของสำนักพิมพ์’ได้สำเร็จ
สำนักพิมพ์มีอำนาจควบคุมการเข้าถึงบทความของตน เราทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์เพื่อรักษาอำนาจควบคุมของสำนักพิมพ์เหนือการเข้าถึงเนื้อหาของตน และจะใช้แคชกับบทความที่ไม่มีการควบคุมการเข้าถึงเท่านั้น สำนักพิมพ์สามารถช่วยเหลือเราได้โดยระบุภูมิภาคของไซต์ที่มีการควบคุมการเข้าถึง สำหรับรายละเอียด โปรด คลิกที่นี่
ผู้ใช้ Google จะต้องได้รับบทคัดย่อที่สมบูรณ์หนึ่งรายการเป็นอย่างน้อย นี่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งในโปรแกรมการจัดทำดัชนีของเรา สำหรับบทความที่มีการจำกัดการเข้าถึง บทคัดย่อที่สมบูรณ์ที่เขียนโดยผู้เขียนจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกจากผลลัพธ์ได้ว่าบทความใดเป็นไปได้ที่จะมีข้อมูลที่ต้องการมากที่สุด
เราจะตอบกลับการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ เรามีนโยบายในการ ตอบกลับต่อการแจ้งข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act.
ส่งงาน การสืบค้นE-book
เนื้อหา http://202.28.199.34/multim/3121891.pdf
ที่มา http://ebook.thailis.or.th/irweb/cgi-bin/irweb.exe?op=dig&lang=0&db=irmain&pat=computer&cat=tit&skin=j&lpp=20&catop=&scid=zzz&ref=T:@1794&nx=1
ข้อความ http://202.28.199.34/multim/3103584.pdf
วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6
Google Scholar เว็บสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่
จะว่าไปแล้วในปัจจุบันผู้ที่เรียนระดับปริญญาโทและเอกทุกมหาวิทยาลัย ในทุกระดับจะใช้เว็บ google.com เป็นทางผ่านในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ไปว่าจะเป็นเนื้อหาบทเรียน งานวิจัย บทความทางวิชาการ Google Scholar เป็นเว็บที่ทางทีมงานกูเกิ้ลสร้างมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หากพูดง่ายๆ Google Scholar เป็นเว็บที่ใช้ค้นหางานเขียนทางวิชาการทั่วโลก โอ พระเจ้า มันจะทำได้จริงฤ กูเกิ้ลทำให้เราแปลกตาในหลายสิ่งแล้ว สิ่งที่เราคิดว่าทำไม่ได้ หรือหากทำได้ก็จะใช้ระยะเวลาอันยาวนาน แต่กูเกิ้ลก็สามารถทำได้ สังคมอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป จากในอดีตมาก การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นสิงที่ดีที่สุด : )
คุณลักษณะของเด่นของ Google Scholar
- ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
- ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง แบบ peer-reviewed และ Full paper
- ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
- เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ
วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5
เอามาจาก Webboard ไผ่สิงโต มีรุ่นน้องเอา Web Google ที่ใช้ค้น Paper โดยเฉพาะ เรืยกว่า Google Scholar ลองไปใช้ดูแล้วดีมาก ๆ ได้ข้อมูลจาก Journal แปลก ๆ เยอะดี ข้อดีกว่า Pubmed คือเข้าไปอ่าน Full Paper ได้และหลากหลายกว่า Pubmed ขนาด Journal ท้องถิ่น ถ้ามี Website อยู่ก็ไป search ได้
ครั้งหน้าถ้าต้องทำ presentation ลองใช้ search engine ตัวนี้ พิมพ์ Keyword แล้วเว้น ตามด้วย ppt จะทำให้งาน present เร็วขึ้นมาก เพราะอะไรลองถาม Dua ดู
กูเกิล สกอลาร์” เสิร์ชใหม่ เอาใจนักวิทยาศาสตร์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2547 16:16 น.
เนเจอร์- “กูเกิล” เปิดตัวระบบเสิร์ชเฉพาะทางฉบับทดลอง สำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่ต้องการหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการชนิดละเอียดยิบ โดยคัดเลือกเฉพาะลิงค์มีคุณภาพ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ทางวิชาการ รองรับความต้องการของเหล่าผู้รอบรู้โดยเฉพาะ
“กูเกิล” (google.com) เว็บไซต์บริการค้นหาข้อมูล หรือเสิร์ช เอนจิน (search engine) อันดับหนึ่งของโลก ได้เปิดตัว “กูเกิล สกอลาร์” (google scholar) ฉบับทดลอง (เบตา) ออกให้ใช้ฟรี เพื่อช่วยค้นหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการทั้งหลายแบบเจาะลึกครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ผ่านที่อยู่ หรือ ยูอาร์แอล http://scholar.google.com ซึ่งหวังว่านักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจะสามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะทางได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่นในการค้นหาวลีอย่าง “ฮิวแมน จีโนม” (human genome) ปกติแล้วกูเกิลธรรมดาจะแสดงผลเว็บที่เกี่ยวกับศูนย์พันธุกรรมต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงฐานข้อมูลและเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมทั่วโลก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะมีประมาณ 450,000 รายการหรือมากกว่านั้น แต่กูเกิลสกอลาร์จะแสดงผลการค้นหาออกมาเพียงแค่ 113,000 รายการ และสิ่งที่พบก็ไม่ใช่เว็บไซต์ แต่เป็นผลงานการวิจัยในการสัมมนาต่างๆ เช่น รายการแรกที่พบเป็นบทความเรื่อง “อินนิเทียล ซีเควนซิง แอนด์ อนาไลซิส ออฟ เดอะ ฮิวแมน จีโนม” (Initial sequencing and anslysis of the human genome) ขณะที่กูเกิลเวอร์ชันปกติก็จะนำลิงค์องค์กรที่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้ เป็นต้น
เซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์กูเกิล เปิดเผยว่า ข้อมูลที่ค้นพบจะถูกจัดลำดับ โดยเรียงตามความสำคัญของลิงค์ที่มาของเอกสารชิ้นนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มุ่งมองที่การค้นหาจำนวนลิงค์มาให้ได้มากที่สุด แต่มองกันที่คุณภาพของลิงค์ที่จะนำมาแสดงผล เช่น ลิงค์จากเว็บไซต์ของวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งตีพิมพ์บทความทางวิชาการด้านชีววิทยาชื่อดัง ย่อมจะมีความสำคัญมากกว่าลิงค์จากเว็บส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่ง
แนะนำ Google Scholar
สำหรับเครื่องมือพื้นฐานของเจ้าสกอลาร์นี้มีหลักการคล้ายกับการค้นหาของเว็บกูเกิล ซึ่งเป็นการอ้างอิงข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์อย่างมีขั้นตอน และเป็นแผนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหน้าเว็บนั้นจะถูกเชื่อมต่อโดยพิจารณาจากความสำคัญและจำนวนผู้ใช้สูงสุดในการตอบรับการค้นหา
โดยรูปแบบแล้วกูเกิล สกอลาร์จะทำการค้นหาโดยมองลึกลงไปถึงรายละเอียดของเนื้อหาและรูปแบบ เรียกได้ว่าดูทุกๆ หน้าของงานวิจัยชิ้นนั้นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากการค้นหาแบบเก่าที่ปกติจะค้นหาแค่เพียงหัวข้อของงาน หากมีคำหรือวลีที่ตรงกับคำที่ระบุไว้ก็จะดึงมาเป็นลิงค์ ทั้งที่อาจจะไม่ใช่เรื่องนั้นเลย
ส่วนฐานข้อมูลในการค้นหาของ “กูเกิล สกอลาร์” ฉบับทดลองนั้นได้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มสำนักพิมพ์ของเนเจอร์ (Nature Publishing Group) สมาคมเครื่องกลและคอมพิวเตอร์ (the Association for Computing Machinery) และสถาบันไฟฟ้า (the Institute of Electrical) รวมถึงวิศวกรไฟฟ้า (Electronics Engineers) ซึ่งรวมอยู่ในระบบค้นหาที่เรียกว่า ครอสเรฟ เซิร์ช (CrossRef Search)
นอกจากนี้ เมื่อผู้ใช้กูเกิลสำหรับนักวิจัยได้ค้นหาบทความต่างๆ ทางกูเกิลก็ค้นหาโดยละเอียดตามแหล่งข้อมูลที่กล่าวข้างต้น โดยเปิดให้ผู้ค้นหาได้คลิกกลับไปที่ไซต์เจ้าของบทความนั้นๆ ซึ่งถ้าหากเว็บนั้นๆ กันไว้เป็นบทความเฉพาะสำหรับสมาชิก ก็จะเปิดอ่านได้หากสมัครสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ ไว้ แต่ถ้าไม่ ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครสมาชิกหรือจะได้อ่านส่วนสรุปของบทความ
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000084855
ที่มา